Untitled 1

     8535gb13ทรัพยากรชีวภาพ คือมวลสารของสิ่งมีชีวิต ซึ่งอาจเป็นป่าไม้ ผลผลิตสินค้าเกษตร และกากเหลือของทางการเกษตร เช่น แกลบ ฟางข้าว ชานอ้อย กะลาปาล์ม กะลามะพร้าวหรือของเสียอินทรีย์จากโรงงานอุตสาหกรรมเกษตร ฯลฯ รวมทั้งมูลสัตว์เช่น ไก่ หมู วัว เป็นต้น อย่างไรก็ดี ทรัพยากรที่ควรจะนำมาพัฒนาเป็นพลังงานในอนาคตก็คือ กากของเหลือทางการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตรรวมถึงมูลสัตว์ต่างๆซึ่งเป็นทรัพยากรที่หาง่ายและมีราคาถูก พลังงานชีวภาพ (อีกชื่อหนึ่งคือพลังงานชีวมวล)ใช้วัสดุอินทรีย์เหล่านี้เป็นเชื้อเพลิง โดยใช้NEW 01เทคโนโลยี เช่น การสะสมก๊าซ การเปลี่ยนเป็นก๊าซ (การเปลี่ยนแปลงวัสดุแข็งเป็นก๊าซ) การเผาไหม้ และ การย่อยสลาย (สำหรับของเสียเปียก)

 

     เมื่อชีวมวลถูกใช้เพื่อผลิตพลังงานในวิธีการที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืนจะมีบทบาทในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ดังนั้นเราจึงสนับสนุนพลังงานชนิดนี้

 

     ชีวมวลสามารถใช้ประโยชน์ในด้านพลังงานได้หลายรูปแบบแต่รูปแบบที่มีศักยภาพสูง ได้แก่การใช้กากของเหลือในโรงงานอุตสาหกรรมการเกษตรเป็นเชื้อเพลิงในระบบการผลิตไฟฟ้า และความร้อนร่วมกัน ซึ่งจากรายงานของบริษัทที่ปรึกษาที่เสนอต่อคณะกรรมการนโยบาย พลังงานแห่งชาติ การใช้กากของเหลือมาผลิตกระแสไฟฟ้าจะมีศักยภาพสูงถึง 3,000 เมกะวัตต์

 

     สำหรับการหมักก๊าซชีวภาพ ถึงแม้จะยังมีศักยภาพน้อยกว่าการเผาโดยตรง แต่การหมักก๊าซชีวภาพก็มีประโยชน์เป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมท้องถิ่น เพราะถือเป็นกระบวนการที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการกำจัดมูลสัตว์และน้ำเสียจากฟาร์มเลี้ยงสัตว์ อันเป็นปัญหาที่สำคัญในหลายพื้นที่ทั้งยังลดความจำเป็นในการใช้พื้นที่จำนวนมากเพื่อการกำจัดของเสีย

 

     พลังงานชีวภาพสามารถเป็นหนึ่งในวิธีการอันยั่งยืนในการแก้ปัญหาโลกร้อนโดยสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากขนส่งมวลชนบนถนนโดยเฉพาะเมื่อใช้ร่วมกับการขนส่งที่มีประสิทธิภาพทางพลังงาน

 

     นอกจากนี้ การใช้พลังงานชีวมวลถือเป็นการลดปัญหาการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกที่มีผลต่ออุณหภูมิของโลกที่กำลังเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากเมื่อมีการเพาะปลูกพืชหรือชีวมวลทดแทนในอัตราที่เท่ากัน พืชเหล่านั้นก็จะดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากบรรยากาศ เพื่อการเจริญเติบโตของตนเอง ผ่านทางกระบวนการสังเคราะห์แสง ดังนั้น การใช้เชื้อเพลิงชีวมวลถือว่าเป็นการใช้พลังงานที่ไม่ทำให้การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกไซด์ของโลกเพิ่มขึ้น

 

      ที่สำคัญก็คือ การผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพในยุคที่ 2 สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการขนส่งได้อย่างมากในวิธีการที่ยั่งยืน เราจึงสนับสนุนการวิจัยและการพัฒนาพลังงานชีวมวลในยุคที่ 2

 

     อุปสรรคของการพัฒนาพลังงานชีวมวลในประเทศไทย คือ ปัจจุบันในประเทศไทย มีผู้ผลิตไฟฟ้าจากชีวมวลแล้วไม่ต่ำกว่า 20 ราย ทั้งที่เป็นโรงงานน้ำตาล (ใช้ชานอ้อยเป็นเชื้อเพลิง) โรงสีข้าว(ใช้แกลบเป็นเชื้อเพลิง) คิดเป็นกำลังการผลิตรวมถึง 440 เมกะวัตต์ ปัญหาที่ทำให้การพัฒนาพลังงานชีวมวลไม่เต็มศักยภาพที่มีอยู่จึงมิใช่ปัญหาด้านเทคโนโลยี แต่ปัญหาที่สำคัญคือ ราคารับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้ารายย่อยจากพลังงานชีวมวล (ประมาณ 1.26 บาทต่อหน่วย) นั้นยังต่ำกว่าราคารับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตรายใหญ่จากเชื้อเพลิงฟอสซิล (ประมาณ 1.6 บาทต่อหน่วย) อยู่มาก ดังนั้นจึงทำให้แรงจูงใจในการลงทุนและการพัฒนาพลังงานจากชีวมวลลดลง

 

     ประเทศไทยจำเป็นจะต้องมีวิสัยทัศน์และมุ่งมั่นพัฒนานโยบายพลังงานชีวมวลอย่างจริงจัง โดยในระยะสั้นควรมีการปรับราคารับซื้อไฟฟ้าสำหรับผู้ผลิตจากชีวมวลเพื่อจูงใจผู้ผลิตส่วนในระยะยาวหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจะจัดสรรทรัพยากรและงบประมาณเพื่อการวิจัยและพัฒนาให้มากขึ้นเพื่อสนับสนุนการผลิตไฟฟ้าจากชีวมวล รวมถึงการใช้พลังงานจากชีวมวลในรูปแบบอื่นๆ อย่างจริงจัง

 

     เมื่อพิจารณาเป้าหมายที่สำคัญไปกว่า นั่นคือ การกู้วิกฤตโลกร้อน เกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินเทคโนโลยีการผลิตพลังงานชีวมวล ก็คือ พลังงานชีวมวลต้องทำให้ก๊าซเรือนกระจกสุทธิลดลง และต้องถูกใช้ในวิธีการที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

 

     เพื่อรักษาระดับก๊าซเรือนกระจกเอาไว้การผลิตเชื้อเพลิงชีวมวลจะต้องไม่ก่อให้เกิดการทำลายป่าธรรมชาติหรือระบบนิเวศธรรมชาติ หรือก่อให้เกิดความขัดแย้งทางสังคม ซึ่งรวมถึงความมั่นคงด้านอาหาร
และพืชสำหรับพลังงานชีวมวลจะต้องปลูกในวิธีการที่ยั่งยืน